NTT DATA ส่งแพลตฟอร์มบริหารจัดการจุดชาร์จ EV อัจฉริยะ
รับดีมานด์รถไฟฟ้าโต หลังรัฐบาลไทย-ทั่วโลกเร่งเครื่องผลักดันรถไฟฟ้า
บริษัท เอ็นทีที เดต้า (ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้เครือบริษัท เอ็นทีที เดต้า คอร์ปอเรชัน จำกัด ผู้นำด้านธุรกิจดิจิทัลและบริการด้านไอทีชั้นนำระดับโลก เตรียมพร้อมส่งมอบบริการ NXT Mobility Charge ระบบแพลตฟอร์มบริหารจัดการจุดชาร์จรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% หรือ รถยนต์ EV (Electric Vehicle) แบบครบวงจร ตั้งแต่ให้คำปรึกษา ออกแบบ จัดหาระบบ พัฒนาแอปพลิเคชัน และบริการหลังการขาย เจาะกลุ่มค่ายรถยนต์ และผู้ประกอบการสถานีเติมน้ำมันและแก๊ส ภาครัฐ กลุ่มผู้พัฒนาอสังหา หลังทั่วโลกให้ความสำคัญกระตุ้นการใช้รถยนต์ EV เพิ่มมากขึ้นเพื่อมุ่งสู่ Net zero ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพื่อสร้างโลกอย่างยั่งยืน ในขณะที่ประเทศไทยเดินหน้าสนับสนุนการใช้รถยนต์ EV เพื่อมุ่งสู่การเป็นเอเชียฮับ โดยภาครัฐและเอกชนในประเทศไทยต่างรวมมือทะลายกำแพงความท้าทาย เร่งขยายสถานีชาร์จที่ปัจจุบันยังมีไม่ถึง 1,000 จุด เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค
นายฮิโรนาริ โทมิโอกะ ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็นทีที เดต้า (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัท เตรียมพร้อมส่งมอบบริการ NXT Mobility Chargeหรือ บริการ EV Charging Platformเครื่องมือบริหารจัดการสถานีชาร์จรถยนต์พลังงานไฟฟ้า100% หรือ รถยนต์ EV (Electric Vehicle) อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้บริการแพลตฟอร์มซึ่งจะเป็น Software ช่วยบริหารจัดการจุดชาร์จได้จากศูนย์กลางแบบเบ็ดเสร็จ และบริการพัฒนา Mobile Application ด้วยการออกแบบและจัดทำแอปพลิเคชันตามความต้องการของลูกค้า เพื่อสนับสนุนการส้รางประสบการณ์ให้ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานหลังบ้าน สามารถทำได้ทั้งบน Cloud และ On-Premiseเจาะกลุ่มเป้าหมาย ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรถยนต์ EV ผู้ประกอบการสถานีเติมน้ำมัน และสถานีแก๊สเชื้อเพลิงขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ รวมไปถึงผู้ให้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ EV ในสังกัดภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ผู้ประกอบการค้าปลีก และผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่มีนโยบายสนับสนุนการใช้งานรถยนต์ EV เพื่อตอบสนองการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งมุ่งให้ความสำคัญกับการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์”
ทั้งนี้ NXT Mobility Charge ได้ผ่านการรับรองตามมาตรฐาน Open Charge Point Protocol (OCPP standard) เวอร์ชั่นล่าสุด ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก สามารถยกระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดสถานีชาร์จได้จากศูนย์กลาง โดยมีจุดเด่นด้านเทคนิคดังนี้
1. โครงสร้างของชุดซอฟท์แวร์ แบบ Multi-tenant สำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายจุดชาร์จรถยนต์ EV (Charge Point Operators: CPO) และผู้ให้บริการการเข้าจุดชาร์จที่หลากหลายรอบพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ (e-mobility providers: EMPs) สามารถปรับรูปแบบของ Software ให้เข้ากับรูปแบบธุรกิจที่แตกต่างกัน
2. เป็นสถาปัตกรรมไอทีแบบ Kernel-based รวมถึงแนวคิดการให้สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล สำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายจุดชาร์จรถยนต์ EV (CPO) และผู้ขับขี่
3. ช่วยเพิ่มส่วนขยายฟังก์ชั่นการทำงานแบบเฉพาะเจาะจงตามความต้องของลูกค้า ด้วยโครงสร้างที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนไปได้อย่างรวดเร็ว
4. การพัฒนาแอปพลิเคชันสามารถนำไปใช้งานบนคลาวด์ (Cloud-native application) ด้วยเทคโนโลยีที่มีความพร้อมใช้งานสูงและปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่น สามารถให้บริการในรูปแบบ PaaS (Platform as a Service)
5. ระบบ API ที่การันตีว่าสามารถผสานการทำงานร่วมกับระบบที่มีอยู่เดิมได้อย่างง่ายดาย โดยสามารถให้บริการครบวงจรตั้งแต่บริการให้คำปรึกษา วางแผนและออกแบบ ดำเนินการติดตั้งและการดูแลรักษาระบบ
นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้สนับสนุน Customer Experience เพื่อต่อยอดบริการที่ดียิ่งขึ้นและส่งเสริมการตลาดรวมไปถึงบริการหลังการขายโดยNXT Mobility Charge จะช่วยให้ผู้ใช้งาน ค้นหาจุดชาร์จที่อยู่ใกล้ และทำการจองคิวเพื่อใช้งานล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ส่งเสริมการทำ Marketing Campaign ผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อสร้างความสนใจในระหว่างรอใช้บริการ ต่อยอดสู่ระบบสะสมคะแนนหรือการเก็บข้อมูลเพื่อการทำCRM สามารถผสานการทำงานร่วมกับระบบ Payment gateway ผ่านแอปพลิเคชันที่รองรับการชำระเงินได้หลายรูปแบบ อาทิ Credit card, Debit card, QR code และ Mobile banking รวมถึง e-Wallet หรือระบบการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งเป็นบริการเสริมที่ช่วยให้การนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ต่อยอดกิจกรรมทางการตลาดและพัฒนารูปแบบการให้บริการ NXT Mobility Charge ยังช่วยส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และบริการจัดการการใช้พลังงานจุดชาร์จรถยนต์ EV ให้คุ้มค่าที่สุด ด้วยระบบ Intelligent Energy Management
“ปัจจุบันทั่วโลกกำลังผลักดันการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และภาครัฐอย่างจริงจัง เพื่อมุ่งสู่ Net Zero ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ให้เป็นศูนย์เพื่อให้โลกสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยสมาพันธ์ Zero Emission Vehicle Transition Council มีข้อตกลงเห็นพ้องตรงกันว่า ภายในปี 2583 ผู้ผลิตรถยนต์จะเดินหน้าผลิตและจำหน่ายยานพาหนะที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ประกอบกับยานยนต์ไฟฟ้าที่จะเป็นหนทางสำคัญในการหลุดพ้นจากปัญหาราคาน้ำมันที่ผันผวน โดยทั่วโลกเริ่มหันมาให้ความสำคัญมากขึ้น มีการออกกฎระเบียบและใช้มาตรการกระตุ้นต่างๆ เพื่อผลักดันยอดจำหน่ายรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นรวมถึงประเทศไทย ในขณะที่ไทยเริ่มมีความชัดเจนในมาตรการกระตุ้นการผลิตและการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น ทั้งในส่วนของมาตรการทางภาษี โดยวางเป้าหมายภายปี 2573 จะผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% หรือ EV ให้ได้ร้อยละ 30 หรือประมาณ 6.22 ล้านคัน และความท้าทายสำคัญในการกระตุ้นเพื่อเพิ่มสัดส่วนการใช้รถยนต์EV ให้ประสบผลสำเร็จ คือการเพิ่มจำนวนจุดชาร์จไฟฟ้าแบบเร็วตามพื้นที่สาธารณะต่างๆ ให้เพียงพอ ปัจจุบันประเทศไทยมีจุดชาร์จประมาณ 600 จุด โดยหัวใจสำคัญของการให้บริการจุดชาร์จ คือการบริหารจัดการจุดชาร์จอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า คุ้มทุน และสร้างรายได้ให้กับธุรกิจอย่างยั่งยืน” นายฮิโรนาริ กล่าวสรุป