TK แนะผู้บริโภคเปรียบเทียบ “บริการเช่าซื้อ” กับ “บริการรถเช่า”
ก่อนเลือกรถจักรยานยนต์ใช้งานให้ตอบโจทย์
จากแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัว ปัจจัยจากอัตราเงินเฟ้อสูง นโยบายการเงินเข้มงวด ส่งผลกับหลายกลุ่ม อุตสาหกรรม ธุรกิจชะลอการลงทุน รวมถึงผู้บริโภค ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. เปิดเผย ข้อมูลหนี้สินครัวเรือนไทยในไตรมาส 2 ปี 2567 ลดลงเป็น 89.6% ต่อ GDP จาก 90.7% ต่อ GDP ในไตร มาส 1 ปี 2567 หรือลดจาก 16.36 ล้านล้านบาท อยู่ที่ 16.32 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 3 ปีกว่าที่ผ่านมาก สาเหตุสําคัญเกิดจากการที่สถาบันทางการเงิน ทั้งธนาคารและไม่ใช่ธนาคาร รวมไปถึงผู้ให้บริการเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ต่างชะลอและระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ เพราะคุณสมบัติ ของผู้ยื่นกู้ ไม่ว่าจะเป็นกู้ซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือกู้สินเชื่อรายย่อย รวมไปถึงสินเชื่อส่วนบุคคล ที่มีความสามารถในการชําระหนี้มีจํานวนลดลง
บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน) หรือ TK ผู้ให้บริการเช่าซื้อรถจักรยานยนต์รายใหญ่ในประเทศไทย แนะนำผู้บริโภคมองหาทางเลือกในการหาจักรยานยนต์มาใช้งานได้ในช่วงที่ยังไม่สามารถได้รับอนุมัติสินเชื่อเช่าซื้อ ด้วยเพราะขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งตามผู้ให้บริการเช่าซื้อกำหนด ซึ่งหนึ่งในทางเลือกก็คือการใช้ “บริการรถเช่า” ซึ่งเป็นบริการทางเลือกใหม่ ให้ผู้บริโภคมีรถจักรยานยนต์ไปใช้ โดยมีรูปแบบของการจ่ายเงินให้เลือก ตามที่เหมาะกับรูปแบบของรายได้ โดยไม่ต้องมีเงินดาวน์
ทั้งนี้ ก่อนตัดสินใจเลือกระหว่าง “บริการเช่าซื้อ” และ “บริการรถเช่า” รถจักรยานยนต์ ผู้บริโภคควรศึกษาข้อมูล เพื่อเปรียบเทียบบริการทั้งสองประเภทให้แน่ใจว่าได้เลือกใช้บริการที่เหมาะกับแต่ละบุคคล และเหมาะกับวัตถุประสงค์ของการนำรถจักรยานยนต์มาใช้งาน โดยมีรายละเอียดของแต่ละบริการ ดังนี้
“บริการเช่าซื้อ” รถจักรยานยนต์ ผู้ขอใช้บริการจะต้องผ่านขั้นตอนของการเช็คเครดิตบูโร (Credit Bureau) ของ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ National Credit Bureau (NCB) และส่วนใหญ่ต้องมีผู้ค้ำประกัน ต้องชําระค่างวดเป็นรายเดือน ในขณะที่ใช้เงินในการออกรถครั้งแรกซึ่งหมายรวมถึงเงินดาวน์ ค่าประกันภัย ค่าทะเบียนรถ และ พรบ. ส่วนค่างวดรายเดือนจะต่ำกว่า “บริการรถเช่า” โดยเมื่อทำสัญญาเช่าซื้อแล้วจะไม่สามารถยกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นรถคันใหม่ในช่วงเวลาที่เช่าซื้อรถได้ กรณีที่คืนรถก่อนหมดสัญญาเช่าซื้อ ก็จะต้องรับผิดชอบส่วนที่ค้างชําระตามเงื่อนไขสัญญา ทั้งยังจะเสียประวัติในเครดิตบูโร ซึ่งจะส่งผลในการขอใช้บริการเช่าซื้อหรือยื่นขอกู้เงินอื่น ๆ ในอนาคต
ส่วน “บริการรถเช่า” รถจักรยานยนต์ ซึ่งปัจจุบัน TK มีให้บริการภายใต้แบรนด์ “TK Me” เป็นบริการที่แตกต่างจาก “บริการเช่าซื้อ” ตรงที่ไม่มีการเช็คเครดิตบูโร แต่เงินค่าบริการและค่าเช่าล่วงหน้าที่จ่ายครั้งแรก รวมไปถึงเงินชำระค่าเช่าต่อเดือนจะสูงกว่า “บริการเช่าซื้อ” อย่างไรก็ตาม “บริการรถเช่า” มีข้อดีที่ผู้เช่าสามารถเปลี่ยนรถคันใหม่ได้ตามต้องการได้เมื่อชำระค่าเช่าครบตามเงื่อนไขที่กำหนด นอกจากนี้ ยังสามารถยกเลิกสัญญาเช่าและคืนรถได้หากไม่ต้องการใช้รถต่อไป ทั้งนี้ จะต้องศึกษาเงื่อนไขการคืนรถตามที่บริษัทให้เช่าได้กำหนดไว้ ที่สำคัญคือผู้เช่าสามารถเลือกชำระค่าเช่าได้ตามความสามารถในการชำระ ไม่ว่าจะเป็นการชำระแบบรายวัน รายสัปดาห์ ราย 2 สัปดาห์ หรือรายเดือน
“TK Me” เป็นบริการทางเลือกใหม่ ให้ผู้บริโภคมีรถจักรยานยนต์ไปใช้ในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพในรูปแบบของการจ่ายเงินแบบรายวัน รายสัปดาห์ ราย 2 สัปดาห์ หรือรายเดือน โดยไม่ต้องมีเงินดาวน์ ปัจจุบัน “TK Me” มีรถจักรยานยนต์ยี่ห้อและรุ่นที่ได้รับความนิยม ขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 160 CC ให้เลือกครบทุกรุ่น ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแผนพิจารณาเพิ่มยี่ห้อและรุ่นรถจักรยานยนต์ พร้อมเงื่อนไขการบริการใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นในอนาคต สามารถเลือกใช้บริการ “TK Me” ได้ที่ตัวแทนจำหน่ายของฐิติกรใน 63 สาขา ทั่วประเทศ